ปัจจุบันมีแบรด์เครื่องสำอางมากมาย ที่ผลิตออกมาในรูปแบบของ OEM ติดแบรนด์ต่างๆ โดยเข้าไปจ้างในโรงงานหรือผู้ผลิต เพราะในปี 2560 ประเทศไทย กลายเป็นขุมทองของผลิตภัณฑ์ความงาม เพราะมีมูลค่ากว่า 168,470 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวถึง 47% ผลิตภัณฑ์ผม 18% และเครื่องสำอาง 14% ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย 14% และน้ำหอมอีก 5% โดยอ้างอิงจาก Positioning สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการแข่งขันของตลาดความงาม
ด้วยเหตุผลคุณพิชามญชุ์ อุสาหะ Maketing Director บ. เอสเธติค พลัส จึงเพิ่มความรู้ให้กับผู้ประกอบการภายในงาน Smart SME Expo 2018 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-8 ก.ค. 61 ที่ผ่านมา ในส่วนของการปั้นแบรนด์ให้ดัง ไม่ต้องพังเพราะผิดกฏหมาย ทำอย่างไรได้บ้าง โดยยิ่งมีมูลค่าของตลาดเครื่องสำอางสูงมากเท่าไหร่ เป็นดังตัวเลขที่มีการคาดการณ์หรือไม่ ผู้เล่นหรือผู้ประกอบการต่างก็มีความสนใจที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์เครื่องสำอางในปัจจุบัน และทำให้ผู้ประกอบการต่างมองหาทั้งแหล่งผู้ผลิต แพ็กเก็จจิ้ง แหล่งเงินทุน ช่องทางจัดจำหน่าย รวมทั้งแบรนด์ใหม่ๆ ที่จะผลักดันเข้าสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น
แล้วอะไรที่ถูกต้อง
แบรนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งการมีตัวตนพร้อมกับสัญญลักษณ์ที่ทำให้ทุกคนสามารถเชื่อถือและเกิดความมั่นใจ อย่างเช่น คุณเจนนี่ ถ้าเรานึกถึง เครื่องสำอางก็จะนึกถึง Maybelline New York หรือคุณแอน ทองประสม เราก็จะนึกถึง Loreal หรือมิสทีน หลายคนก็ต้องนึกถึง คุณอั้ม พัชราภา เป็นต้น
ซึ่งการทำแบรนด์ต่างๆเราก็จำเป็นต้องคำนึงถึงฉลากของเครื่องสำอางซึ่งจะบ่งบอกอะไรบ้าง
- ชื่อของเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า
- ประเภทหรือชนืดของเครื่องสำอาง
- ชื่อของสารที่เป็นส่วนผสม
- วิธีการใช้เครื่องสำอาง
- ชื่อของผู้ผลิตและที่ตั้ง
- ปริมาณสุทธิ
- เชยที่แสดงครั้งที่ผลิต
- เดือน ปี ที่ผลิต
- เดือน ปี วันหมดอายุ
- คำเตือน
- เลขที่ใบรับแจ้ง
11 ข้อนี้ จะต้องมีอยู่ในส่วนของฉลากที่ติดกับเครื่องสำอาง
แล้วในส่วนของโฆษณาล่ะ
ก็จะบอกคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ว่าทำอะไรได้บ้าง รวมทั้งการกล่าวที่ไม่เกินความเป็นจริง การโฆษณาที่มีผลต่อสุขภาพ หรือร่างกาย รวมถึงลักษณะการใช้งานเป็นอย่างไร ใช้ได้อย่างไงบ้าง อย่างเช่น “เจล ร้อน/เย็น กระชับหุ่น ลดสัดส่วน รอยแตกแยก เซลลูไลท์ แค่ทางก็เหมือนใส่สเตย์กระชับผิว” ซึ่งเป็นโฆษณาเกินความเป็นจริง อันนี้ก็ผิดกฏหมายเช่นเดียวกัน
ยังมีคำบางคำที่เกิดขึ้น และไม่สามารถใช้งานได้ เพราะมีความหมายที่สุ่มเสี่ยงในการใช้เครื่องสำอางที่ถูกวิธีอีกหลายคำ ทาง Aesthetic Plus ก็ได้ยกตัวอย่างให้ฟัง ไม่ว่าจะคำว่า Sun block , UV block 2 คำนี้ ถูกใช้เป็นประจำ แต่เป็นคำที่ผิด ซึ่งที่ถูกต้องใช้เป็น Sunscreen , UV Protection หรือคำว่า Water proof เป็นคำที่ถูกใช้เป็นประจำ แต่ในความเป็นจริงใช้คำว่า Water resistance
ซึ่งยังมีคำอีกมากมายที่ถูกห้ามใช้ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @Aesthetic_Plus สอบถามความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางได้เลยนะครับ
The post เก็บตก ปั้นแบรนด์ให้ดัง ไม่ต้องพังเพราะผิดกฏหมาย โดย Aesthetic Plus appeared first on Smart SME.
No comments:
Post a Comment