นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่าในวันที่ 1 ก.ค. สคบ.ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 เดิมที่ควบคุมสัญญามาตั้งแต่ปี 43 และได้ปรับปรุงและยกเลิก ออกประกาศใหม่ปี 55 และปรับปรุงปี 58 และล่าสุดปี 61 โดยกำหนดให้สิทธิของผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจเช่าซื้อด้วยการห้ามผู้ประกอบการเรียกค่าติดตามเอารถคืนกรณีที่ผู้บริโภคผิดสัญญา เนื่องจากมีเรื่องร้องเรียนสคบ.ว่ากรณีผิดนัด ผู้ประกอบการยึดรถ ทำให้มีปัญหาค่าติดตาม และผู้ประกอบการจ้างบุคคลภายนอก และเรียกค่าใช้จ่ายแพง แม้ว่าสถานที่ไม่ได้ไกลบางทีเรียก 5,000 บาท 7,000 บาท หรือ 10,000 บาท ซึ่งเห็นว่าผู้ประกอบการผลักภาระให้ผู้บริโภคสูงเกินไป
นอกจากนี้ ห้ามผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าติดตามทวงถามเกินกว่าประกาศคณะกรรมการทวงถามหนี้ ปี 58 ซึ่งสคบ.เห็นว่าเมื่อมีกฏหมายเฉพาะออกมาแล้วควรใช้กฏหมายดังกล่าว และห้ามผู้ประกอบการยุ่งเกี่ยวการขายทอดตลาด หลังจากที่ผู้บริโภคผิดนัด และได้ยึดรถขายทอดตลาด เนื่องจากผิดกฏหมาย ไม่ว่าทางตรง และทางอ้อม เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม ถ้าประมูลสูงเงินที่เหลือต้องคืนให้ผู้บริโภค แต่หากหากประมูลขายต่ำส่วนที่เหลือผู้บริโภคต้อง รับผิดชอบ ค่าเสียหายค่างวดที่ค้างชำระอยู่
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องแสดงรายการภาระหนี้แต่ละเดือนให้ลูกค้าว่า หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นเงินต้น ดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อ และภาษีเท่าไหร่ เพื่อให้ผู้บริโภครู้ว่าแต่ละงวดชำระค่างวดมากน้อยแค่ไหน กรณีที่ผู้บริโภคมีเงินปิดค่าเช่าซื้อก็เขียนบังคับว่า ผู้ประกอบการต้องลดดอกเบี้ยค่าเช่าซื้อในงวดที่เหลืออยู่ในผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 50%”
นอกจากนี้กรณีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ให้คิดเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เหมือนที่อยู่อาศัย ด้วยการคิดคำนวณดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยบวก 3% แต่ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี เดิมใช้อัตรา เอ็มอาร์อาร์ บวก 10% ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งเห็นว่าการคิดเบี้ยปรับไม่ควรสูงเกินไป เพราะกฏหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไม่เกิน 15% การผ่อนชำระต้องคิดดอกเบี้ยคงที่ หรือ Flat Rate แต่กรณีที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้คิดดอกเบี้ย แบบลดต้นลดดอก เหมือนที่อยู่อาศัย บวก 3% แต่ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี
สำหรับกรณีที่เราไปทำสัญญาแล้วในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิผิดนัดชำระหนี้ ค่างวด 3 งวดติด และหากผู้ประกอบการยึดรถต้องมีหนังสือแจ้งค่างวดที่ค้างชำระภายใน 30 วัน หลังจากนั้นหากไม่ชำระก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและติดตามไปยึดรถคืนได้ ก่อนขายทอดตลาดต้องมีหนังสือให้ผู้บริโภคซื้อทรัพย์คืนว่าต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ภายใน 7 วันก่อนขายทอดตลาด แต่หากไม่มาผู้ประกอบการต้องแจ้งผู้ค้ำประกันให้เข้ามาซื้อทรัพย์ได้กรณีที่ปิดบัญชีเช่าซื้อ โดยผู้ประกอบการต้องให้ส่วนลดค่าเช่าซื้อที่เหลืออยู่ 50% ทั้งผู้ค้ำประกันและผู้เช่าซื้อ
อย่างไรก็ตาม หากผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันไม่ได้ไปใช้สิทธิ์ เพราะไม่มีเงิน ผู้ประกอบการสามารถขายทอดตลาดได้ โดยหลัง 15 วันผู้ประกอบการต้องแจ้งให้ทราบว่าใครเป็นผู้ชนะการประมูล ราคาทรัพย์ที่ประมูลเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสำหรับการประมูลวงเงินกี่บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วหากเงินเหลือให้ไปรับเงินส่วนที่เหลือได้เลย แต่ถ้าขาดแจ้งให้ผู้บริโภคกับผู้ค้ำประกันไปชำระหนี้เพิ่มเติม ถ้าไม่ดำเนินการก็ให้ฟ้องร้องต่อศาลได้ทันที
ขณะเดียวกันยังระบุด้วยว่า กรณีที่เราชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องโอนกรรมสิทธิให้กับผู้บริโภคภายใน 30 วัน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้องส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนกรรมสิทธิรวมถึงค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นจริงกับการโอนให้ผู้ประกอบการ แต่หากผู้ประกอบการไม่ดำเนินการภายในกำหนด ผู้บริโภคมีสิทธิเรียกค่าปรับ และคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบEffective Rate บวก 3% แต่ไม่เกิน 15% ส่วนบทลงโทษกรณีที่ผู้ประกอบการไม่จัดทำข้อสัญญาให้เป็นไปตามที่ประกาศกำหนดจำคุกไม่เกิน 1 ปีปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ด้าน พล.ต.ต.ประสิทธิ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการสคบ. กล่าวว่า กฏหมายดังกล่าวใช้บังคับกับผู้ที่ทำสัญญาเช่าซื้อใหม่เท่านั้น ไม่มีผลย้อนหลัง โดยผู้บริโภคที่ทำสัญญาเช่าซื้อจะต้องศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ สิ่งไหนไม่เข้าใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วน 1166 ลองเปรียบเทียบข้อสัญญากับประกาศคณะกรรมการสัญญาว่าขัดแย้งหรือตรงกันหรือไม่ก่อนที่จะเซ็นสัญญากับผู้ประกอบการ
The post ห้ามเอาเปรียบ “ผู้บริโภค” สัญญาเช่าซื้อทั้งรถยนต์ – จักรยานยนต์ ใหม่มาแล้ว appeared first on Smart SME.
No comments:
Post a Comment