ปัญหา เชื่อว่าคำนี้ไม่ว่าใครๆคงไม่อยากเจอยิ่งเป็นเรื่องของธุรกิจด้วยแล้ว หากเกิดปัญหาอาจส่งผลให้ธุรกิจไปไม่รอด แน่นอนว่าในการดำเนินธุรกิจมักจะต้องประสบปัญหา เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ขึ้นอยู่กับกับสถานการณ์ ซึ่งประสบการณ์จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่สำหรับผู้ประกอบการใหม่ที่เพิ่งเริ่มดำเนินธุรกิจอาจก่อให้เกิดความหนักใจในการหาทางแก้ ฉะนั้นแนวทางการแก้ไปหาถือเป็นสิ่งสำคัญ จึงขอนำเสนอ 6 ปัญหาในการทำธุรกิจ และแนวทางการแก้ไข มาเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการได้นำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ
1. ปัญหา ธุรกิจขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน
ปัจจุบันในการดำเนินธุรกิจเป็นระบบทุนนิยม นั่นหมายถึงเรื่องเงินกลายเป็นเรื่องใหญ่สุด เพราะการดำเนินธุรกิจแทบทุกอย่างล้วนต้องใช้เงินทุนทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการใหม่ไม่ได้สนใจการจัดการระบบการเงินเท่าทีควร ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการรู้ถึงกระแสการเงินที่หมุนเวียนในระบบ และสามารถประเมินสถานการณืในการดำเนินการได้
แนวทางการแก้ไข
การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือผู้ประกอบการคือต้องจัดการบัญชีและการเงินให้ดี พร้อมกับการวางระบบบริหารที่ถูกต้อง และมีเงินทุนที่ต้องใช้จ่ายจริง บวกกับทุนสำรองที่มากเพียงพอต่อการประ กอบธุรกิจซึ่งอาจใช้การขอสินเชื่อจากทางธนาคารและสถาบันทางการเงินที่ส่วนใหญ่มีโปรแกรมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจแบบ SME ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ซึ่งทางสถาบันการเงินได้เข้ามาช่วยเหลือและขจัดปัญหาในส่วนนี้ ทั้งนี้เงินทุนของกิจการ ควรแยกออกจากเงินส่วนตัว และไม่ควรที่จะนำมาใช้ร่วมกัน เพราะอาจทำให้ผู้เจ้าของธุรกิจเจอเข้ากับปัญหาชีวิตของตนเองเข้ามาอีกหนึ่งปัญหา
2.ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านบัญชีและกฏหมาย
ผู้ประกอบการที่สามารถตั้งต้นดำเนินธุรกิจได้ต้องยอมรับสิ่งหนึ่งว่ามีไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ที่มองเห็นถึงโอกาสในการดำเนินธุรกิจ แต่ใช้ว่าทุกคนจะมีความรู้ในเรื่องของบัญชีหรือรวมไปถึงความรู้ทางด้านกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโดยตรง ในส่วนนี้หากผู้ประกอบการไม่มีความรู้อะไรเลยอาจก่อให้เกิดปัญหารวมไปถึงข้อเสียเปรียบที่จะตามมา ปัญหาเหล่านี้มักจะมีรายละเอียดปลีกย่อย ที่ค่อนข้างซับซ้อนมาก บางเรื่องเจ้าของกิจการ ก็ไม่สามารถค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต
แนวทางการแก้ไข
การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเลือกใช้บริการบริษัทรับทำบัญชี และบริษัทให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เพื่อให้เป็นผู้ดูแลโดยเฉพาะ ซึ่งจะดีและสะดวกกว่าดูแลด้วยตนเอง อีกทั้งยังจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ผู้ประกอบการก็ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้วิธีการทำงานของบริษัทเหล่านี้ด้วย ซึ่งจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาในการเลือกบริษัทบัญชีและบริษัทให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จากความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ
3.พนักงานไม่มีความสามารถพอในการดำเนินงานนั้นๆ
ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจใหม่มักจะเจอกับปัญหาบุคลากร ซึ่งใช้งานไม่ตรงความสามารถหรือพนักงานที่รับเข้ามายังไม่ผ่านการคัดกรองที่ดีพอเพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มความสามาถ
แนวทางการแก้ไข
แนวทางการแก้ไข คือ เจ้าของธุรกิจอาจต้องยอมจ่ายเพื่อจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์และความรู้ที่เหมาะสมกับกิจการของตน โดยอาจจะต้องมีข้อเสนอพร้อมทั้งสวัสดิการที่น่าสนใจมากเพียงพอที่จะดึงดูดให้มาร่วมงานได้ แต่หากพนังงานมีการต่อลองเรื่องค่าตอบแทนสูงจนเกินไป ผู้ประกอบการควรพูดคุยกับพนักงานโดยตรง พร้อมทั้งให้สัญญาใจต่อกันว่าจะขึ้นเงินเดือนให้หากสิ้นปีธุรกิจได้ผลบวกและมีกำไรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เมื่อทำได้แล้วก็ต้องไม่ลืมสัญญา เพียงเท่านี้เจ้าของกิจการก็น่าจะได้สมาชิกใหม่ซึ่งเป็นพนักงานที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอย่างแน่นอน
4.ไม่มีเครือข่ายธุรกิจ
ปัญหานี้มักจะพบในผู้ประกอบการใหม่ซะเป็นส่วนใหญ๋ และจะส่งผลครอบคลุมในทุกด้านซึ่งการมีเครือข่ายสังคมจะช่วยผลักดันการทำธุรกิจได้อย่างมาก เพราะจะช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับบริษัทและการดำเนินธุรกิจไปสู่บุคคลภายในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ทำให้มีผู้สนใจอยากจะใช้บริการและให้การสนับสนุนทางด้านธุรกิจมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างเครือข่ายธุรกิจให้มีจำนวนมากได้ จะต้องอาศัยเวลาพอสมควร
แนวทางการแก้ไข
ผู้ประกอบการควรเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในแวดวงธุรกิจให้มากที่สุดไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม เช่น การเข้าร่วมกับองค์กรต่างๆ หรือสมาคมธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องเข้าเฉพาะเจาะจงให้ตรงกับธุรกิจเท่านั้น ในธุรกิจประเภทอื่นก็สามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้เช่นกัน
5.ไม่มีประสบการณ์ขาดความน่าเชื่อถือ
หากผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ยังไม่มีประวัติการดำเนินธุรกิจ เพิ่งจับตลาดและดำเนินธุรกิจเป็นครั้งแรกคนส่วนใหญ่มักจะมองว่า ไม่มีความน่าเชื่อถือหรือประสบการณ์ไม่ถึงในสายงานนั้นๆ และไม่เลือกใช้สินค้าหรือบริการทำให้ธุรกิจไปต่อไม่ได้
แนวทางการแก้ไข
ผู้ประกอบการเองควรแสดงให้เห็นถึงศักยภาพแสดงรูปแบบและอธิบายวิธีการทำงานของกิจการให้ลูกค้าฟังอย่างละเอียด และขอให้เพิ่มการรับประกันคุณภาพการทำงานด้วย เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายงานหรือทำสัญญาทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น หรือในบางครั้งผู้ประกอบการอาจจะต้องนำเอาประวัติการทำงานส่วนตัวมานำเสนอเพื่อชูให้เห็นถึงแนวทางการทำงานในรูปแบบของบริษัท ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้เช่นกัน
6.ธุรกิจขาดทุน
ปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบใหม่ หรือผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ก็ต้องเคยเจออย่างแน่นอน จะน้อยจะมากขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ปัญหาของแต่ละบริษัท แต่โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับบริษัทที่ยังไม่มีประสบการณ์ไม่มีการวางแผนการให้รัดกุม การดำเนินธุรกิจมีช่องโหวทำให้ต้นทุนสูงควบคุมต้นทุนการผลิตไม่ได้ ผลเสียขั้นสูงสุดอาจจะต้องปิดการ
แนวทางการแก้ไข
การแก้ปัญหาที่ดี คือ ผู้ประกอบการต้องทำแผนธุรกิจให้ละเอียดทุกเรื่องรวมถึงช่องทางและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ หากยอดขายและผลกำไรไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ ช่องทางและวิธีแก้ไขปัญหาแหล่งเงินทุนสำรองควรต้องระบุลงไปให้ชัดเจนในแผนธุรกิจ จะสามารถป้องกันไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นได้อย่างมีระบบ หากผู้ประกอบการสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ธุรกิจกฌสามารถประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
Business Tips อื่นๆ คลิก
The post 6 ปัญหา ในการทำธุรกิจ ใครเจอแบบนี้ต้องรีบหาทางการแก้ไข appeared first on Smart SME.
No comments:
Post a Comment