เกษตรกรในแต่ละพื้นที่ มักจะต้องพบเจอกับปัญหาเรื่องน้ำที่แตกต่างกัน บางกลุ่มอยู่ในพื้นที่น้ำมาก บางกลุ่มก็ต้องประสบกับปัญหาภัยแล้ง แต่สำหรับกลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำ บางขนาก – ท่าไข่ จังหวัดฉะเชิงเทรา กลับต้องพบเจอกับสิ่งที่ซับซ้อนมากกว่านั้น เพราะด้วยลักษณะของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ดอน สูง-ต่ำสลับกันของอำเภอ คลองเขื่อนจึงทำให้เกษตรกรจำเป็นต้องใช้เทคนิคการบริหารจัดการน้ำเฉพาะตัวที่สอดรับกับลักษณะของพื้นที่ เพราะรู้ดีว่าการขาดแคลนน้ำจะส่งผลให้เขาเดือดร้อนเพียงใด
โดยบุญลือ ธีระตระกูล ประธาน กลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำบางขนาก-ท่าไข่ ได้เปิดเผยถึงสมัย ครั้งอดีตที่ยังไม่มีการจัดตั้งกลุ่มบริหาร การใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำบางขนาก- ท่าไข่ ให้ฟังว่า
“ตอนที่ยังไม่มีกลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำบางขนาก-ท่าไข่ ปัญหาเยอะ ขาดน้ำพวกเราก็ลำบาก ปลูกข้าวไม่ได้ รายได้ไม่มี สาเหตุเพราะพื้นที่อำเภอคลองเขื่อนมีลักษณะคล้าย กระทะคว่ำพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ดอน สูง-ต่ำสลับกัน ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่อยู่ปลายน้ำไม่มีแหล่งน้ำของตนเอง การทำการเกษตรเป็นไปได้อย่างยากลำบาก”
ตั้งกลุ่มบริหารการใช้น้ำร่วมมือ กับเจ้าหน้าที่ชลประทาน แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ
กระทั่งเดือนมิถุนายน 2552 ที่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นช่วงเวลาของการแก้ไข ปัญหาที่ถูกร้างรามานานก็ได้เริ่มต้นขึ้นในขั้นแรกของการลงมือแก้ไขปัญหาคือ ตั้งประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำคลอง ข้างคันกั้นน้ำบางขนาก-ท่าไข่ขึ้น เพื่อคอยประสานกับเจ้าหน้าที่ชลประทาน โดยทาง กลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำบางขนาก-ท่าไข่ จะใช้น้ำจากแม่น้ำบางปะกงซึ่งเป็นน้ำจืดเป็นหลัก กระทั่งปลายเดือนพฤศจิกายน น้ำเค็มเริ่มรุกเข้า แม่น้ำบางปะกง จึงได้ประสานกับสำนักงาน ชลประทานที่ 9 เพื่อขอน้ำจากเขื่อนสียัด เขื่อนขุนด่านปราการชล เขื่อนนฤบดินทร จินดา และเขื่อนคลองพระสะทึง ปล่อยลงสู่แม่น้ำบางปะกงทุกปี เพื่อชะลอความเค็ม ในแม่น้ำบางปะกง ทำให้ยืดอายุการใช้ น้ำจืดได้อีก 1 เดือน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม หากน้ำไม่พอจึงจะประสานไปยังสำนักงาน ชลประทานที่ 11 เพื่อขอน้ำส่งผ่านคลอง บึงฝรั่งสู่คลองนครเนื่องเขต-ท่าไข่ และคลองบางขนาก มาบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำบนพื้นที่มากกว่า 120,000 ไร่ รวมทั้งดูแลกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทาน พื้นฐาน (กลุ่มพื้นฐาน) ซึ่งมีทั้งหมด 6 กลุ่มให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การบริหาร จัดการน้ำที่กำหนดเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์ร่วมกัน
แต่การได้รับน้ำชลประทานเพื่อนำมาใช้นั้น ก็ยังไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนที่แท้จริง ดังนั้นเมื่อทีมงานถามถึง เทคนิคการบริหารจัดการน้ำนายบุญลือ จึงได้อธิบายว่าจากปัญหาเรื่องพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ดอน ตรงกลางจะสูงกว่าพื้นที่โดยรอบ คล้ายกระทะคว่ำในเบื้องต้นนั้น กลุ่มได้แก้ปัญหาโดยการทำเรี่องเสนอโครงการขอสร้างทำนบดิน ชั่วคราวในคลองรอบพื้นที่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นแก้มลิงใช้กักเก็บน้ำและขอเครื่องสูบน้ำชลประทานเข้าพื้นที่
นวัตกรรมประตูระบายน้ำ Box Culvert
ต่อมาได้ประชุมเพื่อหารือแนวทาง แก้ไขปัญหาและจัดการน้ำอย่างถาวรมีมติร่วมกันเสนอของบประมาณจาก โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ ไชยานุชิต สำนักงานชลประทานที่ 11 เพื่อก่อสร้างประตูระบายน้ำ Box Culvert เปิด-ปิดได้ ทั้งหมดจำนวน 16 แห่ง ปิดปากคลองแยกทุกคลอง และขอสถานี สูบน้ำ 6 สถานี เพื่อใช้สูบน้ำเข้าคลองส่งน้ำในพื้นที่
ด้วยความพร้อมของนวัตกรรม ประตูระบายน้ำ Box Culvert รวมถึง การจัดสรรน้ำตามรอบเวรจากพื้นที่สูงลงพื้นที่ต่ำโดยจะเปิดน้ำให้ที่ดอน 1 อาทิตย์ จากนั้นจะระบายลงที่ต่ำตามข้อตกลง คลองสายยาวจะเปิดน้ำให้ 2 วัน คลองสายสั้นจะเปิดน้ำให้ 1 วัน ให้เกษตรกรสูบน้ำเข้าพื้นที่ของตนเอง ทุกอย่างเดินหน้าไปอย่างเป็นระบบตาม ข้อตกลงร่วมกัน อีกทั้งการบริหารจัดการ น้ำในลักษณะนี้ ยังไม่สิ้นเปลืองไฟฟ้า และสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการส่งน้ำผ่านคลองส่งน้ำส่งเข้าไปตาม คลองซอยต่าง ๆ นั้น จะมีท่อเปิด-ปิดไว้ ถ้าแยกไหน คลองไหน ยังไม่ถึงคิวใช้น้ำก็จะปิดท่อไว้ไม่ให้น้ำไหลไปนอกพื้นที่ เทคนิคการบริหารจัดการน้ำทั้งหมดนี้ น่าจะเข้าตาคณะกรรมการพิจารณา รางวัลในครั้งนี้
“เราทำการก่อสร้างประตูระบายน้ำBox Culvert และปิดประตู Box Culvert หน้าปากคลองแยกทั้งหมด หลังจากนั้น ก็ทำการสูบน้ำเข้าคลองส่งน้ำเพื่อ บังคับและยกระดับน้ำในคลองส่งน้ำบางขนาก-ท่าไข่ ให้มีระดับสูงขึ้น จากนั้น จึงเปิดประตู Box Culvert เพื่อส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ดอนสูงสุดเป็นลำดับแรก แล้วจึงจัดสรรน้ำเข้าสู่พื้นที่ลุ่ม ตามลำดับ ถัดมาตามรอบเวรการใช้น้ำที่ได้ทำการ ประชุมตกลงกัน”
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่นประจำปี 2562
การจัดระเบียบการใช้น้ำให้ทั่วถึง เป็นธรรม และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นับตั้งแต่นั้นมาทำให้เกษตรกรกลับมามีน้ำใช้เพียงพอต่อการทำการเกษตร มีน้ำใช้อุปโภค บริโภค สร้างความสุขให้แก่ทุกครัวเรือนอย่างเท่าเทียมกัน ความสำเร็จของกลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำบางขนาก-ท่าไข่ พิสูจน์ให้เห็นได้จากความทุ่มเท ไม่นิ่งดูดายต่อปัญหามุ่งเน้น ให้ทุกคนตระหนักถึง การมีส่วนร่วม เป็นสำคัญ ซึ่งนายบุญลือ ก็ได้นำเทคนิคการ บริหารจัดการน้ำข้างต้น ส่งเข้าประกวดการคัดเลือกสถาบัน เกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่น ประจำปี 2562 และได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 มาครองในปีนี้หลังจากที่ได้รางวัลชมเชย เมื่อปี 2559
จากเรื่องราวที่กลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำบางขนาก-ท่าไข่ ได้มาเล่าสู่กันฟังนั้น ทำให้เห็นว่าการจับมือและร่วมกันตั้งกลุ่ม เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา โดยนำหลากหลายองค์ความรู้ ของเกษตรกรแต่ละคนที่มีมาแชร์กัน เพื่อผนึกเป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับแก้ปัญหาในพื้นที่ของตนเอง รวมทั้งสร้างให้ทุกคนรู้กฎกติกาที่ได้วางไว้ได้นำความสำเร็จมาให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งทีมงานวารสารข่าวชลประทานก็หวังว่า กลุ่มจะมีการพัฒนาต่อยอดการบริหารจัดการน้ำให้ดีและยั่งยืนยิ่งขึ้น เป็น ตัวอย่างให้กลุ่มบริหารการใช้น้ำในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
The post กลุ่มบริหารการใช้น้ำคลองข้างคันกั้นน้ำ บางขนาก – ท่าไข่ ชูเทคนิคทำเกษตร ไม่เปลืองงบ ไม่เปลืองน้ำ appeared first on Smart SME.
No comments:
Post a Comment