รัฐบาลนำ นักลงทุนจีน ลงพื้นที่เขตอีอีซี สำรวจลู่ทางการลงทุน หน่วยงานรัฐและเอกชนลงนามร่วมลงนาม 10 ฉบับ จับมือกับจีนร่วมพัฒนาเขตอีอีซี ทั้งศูนย์วิจัย เชื่อมโยงสายเคเบิลใต้น้ำ ระบุเอกชนจีนสนใจลงทุนทั้งด้านโลจิสติกส์ ระบบขนส่ง ด้านอสังหาฯ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนาม 10 ฉบับ ระหว่างหน่วยงานรัฐ ทั้งอีอีซี รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยและภาคเอกชน
เมื่อลงนามความร่วมมือด้านอวกาศแล้ว ช่วงกลางเดือนหน้าจะส่งนักบินอวกาศไทยเข้าไปร่วมฝึกอบรมด้านอวกาศการเดินทางไปดาวอังคาร ส่วนความร่วมมือด้านเกษตรสมัยใหม่ ยกระดับเกษตรแม่นยำ “ไบโอฟาร์มา” เพื่อพัฒนาในเขต EECi ของไทยในภาคตะวันออก สร้างวิทยาศาสตร์แห่งอนาคต การทดลองเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตรของไทย ผ่าน Food Innopolis หรือศูนย์นวัตกรรมอาหาร การลงนามระหว่างมหาวิทยาลัยชินหัว กับ Touch เพื่อบ่มเพาะนักวิจัย เพื่อให้สถาบันวิจัยของจีนได้ช่วยพัฒนางานวิจัยสมัยใหม่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการลงนามร่วมกันระหว่าง กสท โทรคมนาคม (CAT) กับ CAC ของจีน เพื่อร่วมวางเคเบิลใต้น้ำ เส้นทางซับมารีนเคเบิลใต้น้ำ ไทย- ฮ่องกง-จีน เพื่อเปิดศักราชเพิ่มความจุของสายเคเบิลให้ส่งข้อมูลขนาดใหญ่จากจีนต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน CLMVT ด้วยบรอดแบนด์ขนาดใหญ่ และยังลงนามร่วมพัฒนาศูนย์ดิจิทัลสตาร์ทอัพ รองรับการพัฒนา Internet Of Think ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
การลงนามสำหรับด้านการลงทุนของการนิคมอุตสาหกรรมและ CPLand เพื่อรองรับอุตสาหกรรมของจีนมาตั้งในเขตนิคม และยังมีสภาอุตสาหกรรมร่วมมือกับสภาธุรกิจไทย-จีน เพื่อยกระดับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 12 สาขา โดยมีอุตสาหกรรมที่ตรงกับจีนต้องการพัฒนาถึง 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ หุ่นยนต์อัตโนมัติ ยานยนต์ไฟฟ้า ไบโอชีวภาพ ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องเร่งสร้างบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย หลังจากได้ตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่ายไทย-จีน 3 กระทรวง คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ กระทรวงดิจิทัล กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบัน VISTEC เพื่อสร้างนวัตกรรม ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ตลอดจนระบบการรักษาความปลอดภัยจากไซเบอร์ การโจรกรรมข้อมูล สำหรับการลงนามร่วมกับของหัวเหว่ยกับกระทรวงดิจิทัล เพื่อร่วมกันสร้างสนามทดสอบคลื่นความถี่ 5G หากใช้งานจนได้มาตรฐานแล้วจะได้นำระบบ 5G ออกมาขยายผลให้บริการกับประชาชน เพื่อสร้างไซเบอร์พอร์ตไทยแลนด์
รวมทั้งการลงนามเพื่อส่งเสริมพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมแนวใหม่ ไทย-จีน ยังพร้อมร่วมมือด้านการท่องเที่ยว การสร้างสวนยางพารา น้ำพุร้อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ การร่วมพัฒนาเรือขนส่งผู้โดยสาร คล้ายเรือเฟอรี่ เพื่อเชื่อมเขต EEC ภาพตะวันออกกับเขต SEC ในภาคใต้ เพื่อล่องเรือชายฝั่ง การส่งเสริมการตั้งกองถ่ายภาพยนตร์นำออกไปฉายยังจีน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ
นอกจากนี้รัฐบาลยังได้พานักลงทุนจีนลงพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อดำเนินการตามผลประชุมหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-จีน (JC) หวังสร้างความร่วมมือทั้งเชิงลึกและในแนวกว้างให้มากขึ้น หลังจากได้ตั้งคณะทำงานร่วมมุ่งขจัดปัญหาอุปสรรคในทุกมิติ การมุ่งสร้างความเชื่อมโยงจากลุ่ม CLMV ผ่านไปยังมณฑลกว้างตุ้งและมาเก๊า กวางสี กระชับสัมพันธ์ในระดับมณฑลกับไทย เมื่อระดับ CEO ของเอกชนรายใหญ่ 32 แห่ง ติดอันดับ 500 แห่งรายใหญ่ อาทิ ไชน่า รีซอร์ท ผู้บริหารอาคาร ALL Saeson ย่านถนนวิทยุ ได้ซื้อซองประกวดราคารถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ส่วนรายอื่นสนใจทั้งการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 การพัฒนาสนาม การลงทุนด้านเกษตรชีวภาพ อสังหาฯ หวังสร้างเส้นทางการบินไทย-จีน จากเดิม 30-40 เที่ยวบินต่อเดือน เพิ่มเติม 2,000 เที่ยวต่อเดือน
The post นักลงทุนจีน ลงพื้นที่ EEC สนใจโลจิสติกส์-อสังหาฯ appeared first on Smart SME.
No comments:
Post a Comment